รากประสาทถูกกดทับ
สันหลังคนเราประกอบด้วยกระดูกสันหลังชิ้นย่อยๆ กว่า 30 ชิ้นเรียงต่อกันเป็นแนวจากต้นคอจรดก้นกบ ระหว่างกระดูกแต่ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกว่า หมอนรองกระดูกสันหลัง คั่นกลาง ทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีและเป็นเสมือนโช้คอัพเพื่อดูดซับและกระจายแรงอัด ภายในโพรงกระดูกสันหลังประกอบไปด้วยไขสันหลังและมีเส้นประสาทแยกแขนงจากกระดูกสันหลังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เส้นประสาทส่วนต้นสุดที่แยกแขนงออกมาจากกระดูกสันหลังเรียกว่า รากประสาท ซึ่งจะอยู่ชิดกับหมอนรองกระดูก
กระดูกทับเส้นประสาท |
เมื่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนตัวก็จะกดทับรากประสาทที่ไปเลี้ยงแขนหรือขา ทำให้มีอาการปวด เสียวและชาของแขนหรือขา ส่วนรากประสาทที่ถูกกดทับมักจะพบบ่อยจากการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บหรือบั้นเอว ทำให้มีการกดทับรากประสาทไซอาติก (Sciatic Nerve) ที่ไปเลี้ยงขา ซึ่งจะพบบ่อยในกลุ่มคนดังนี้
• ผู้ที่ทำงานหนักโดยเฉพาะผู้ที่แบกของหนักเป็นประจำ
• ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือมีแรงกระแทกบริเวณเอว
• ผู้ที่มีอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน
• ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกเสื่อม
อาการกระดูกทับเส้น |
สาเหตุของโรคในทัศนะการแพทย์จีน...
การแพทย์จีนได้จัดโรครากประสาทขาถูกกดทับให้อยู่ในกลุ่มโรคชาและปวดเมื่อย (痹症) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก ความเสื่อมตามวัยหรือพิษเย็น-ชื้นที่สะสมบริเวณเอว ทำให้หลอดเลือดและเส้นลมปราณติดขัดไปกีดขวางการไหลเวียนของโลหิตและพลังลมปราณจนเกิดอาการปวด ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีนคือ ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด (通则不痛, 痛则不通) นอกจากนี้ การไหลเวียนของโลหิตและพลังลมปราณบริเวณเอวที่ติดขัดจะทำให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ พร้อมทั้งไม่สามารถขับพิษเย็น-ชื้น (风寒湿邪) ที่สะสมและสารพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมตาบอลิซึมออกไปได้หมดสิ้น จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่างๆ บริเวณกระดูกสันหลังรากประสาทขาถูกกดทับ |
วิธีการบำบัดทั่วไป...
การรักษาโรครากประสาทขาถูกกดทับด้วยยาแก้ปวด ยาลดอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาสเตอรอยด์อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการปวดและอักเสบไว้ชั่วคราว แต่มิได้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ทั้งมิได้หยุดยั้งการลุกลามของโรค ที่สำคัญคือ พิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผลที่กระเพาะอาหาร พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกายอีกด้วยการแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร...
การแพทย์จีนนิยมใช้วิธี กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สลายเลือดคั่ง ขับพิษและแก้ปวดบวม (活血化瘀, 清热消毒, 止痛消肿) เพื่อบำบัดต้นเหตุของโรครากประสาทขาถูกกดทับ ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตขนาดเล็ก (Microcirculation) บริเวณกระดูกสันหลังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกระตุ้นการขับสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อ สารที่ก่อให้เกิดอาการปวด (เช่น สารเบต้าโปรตีน ไกลโคโปรตีนและฮิสตามีน เป็นต้น) รวมทั้งกรดแล็กติกที่สะสมอยู่บริเวณรากประสาทออกไปให้มากขึ้น จึงสามารถลดการระคายเคืองต่อรากประสาทและบรรเทาอาการปวดบวมได้อย่างเด่นชัด• การไหลเวียนของโลหิตขนาดเล็กบริเวณกระดูกสันหลังที่ดีขึ้นจะทำให้เส้นเอ็น เส้นประสาท กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้รับการหล่อเลี้ยงมากขึ้น บริเวณที่บาดเจ็บจึงได้รับการฟื้นฟูและซ่อมแซมได้เร็วและมากขึ้น
• ปรับลดระดับความรุนแรงของปฏิกิริยาการตอบโต้จากระบบต่อมไร้ท่อเมื่อรากประสาทถูกกดทับ จึงลดการสร้างและการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อ พร้อมทั้งลดการหดเกร็งของหลอดเลือดบริเวณที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ลดอาการบวมของรากประสาทและบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อลดแรงดึงภายในเส้นประสาทและการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณกระเบนเหน็บและบั้นเอว จึงบรรเทาอาการปวดบวมและฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของเส้นประสาทได้อย่างเด่นชัด
อาการปวดหลังปวดเอว อาการปวดร้าวหรือชาที่ขาและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากรากประสาทขาถูกกดทับจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปได้ในที่สุด